คลังเก็บหมวดหมู่: ZigBee

Node.js กับ ARM device และ ubuntu 12.04

zigbee-meshลองเอา z-stack linux gateway ขึ้นมา ด้วยความที่ ไม่มีบอร์ด beaglebone มองซ้ายขวา มี pandaboard เก่าอยู่ cpu พี่น้องกันน่าจะใช้แทนกันได้ ก็ปรากฏว่า ได้จริงๆ แต่ดันมาเจอปัญหาใหม่

พยายามลง node.js เพื่อใช้งานทำ web server app สำหรับ IoT อย่างที่เค้านิยมทำกัน เลยลองลงจาก repository ปกติ แต่ไม่สามารถทำงานได้ cpu 100% ตลอดเวลา พยายามลง ppa ที่เค้าแนะนำกัน ก็ไม่ได้อีก หาจนเจอว่า เวอร์ชั่นใหม่ๆนั้น ไม่สามารถทำงานได้กับ ubuntu version เก่าๆ สืบเนื่องจาก javascript V8

ก็ต้องเอา version เก่าที่ support ARMV7 มาลงถึงจะใช้งานได้ ต่อมาก็มาติดปัญหาเรื่อง cyclic dependencies อีก (ด้วยความที่ลองแก้ปัญหาหลายวิธีมาก เลยสรุปไม่ได้ว่า สุดท้ายแล้วแก้ได้อย่างไร ทำทั้ง clear cache ลบ module ออกไปทั้ง folder เองเลยก็ทำ) แต่เรียกได้ว่า ลองใช้งาน node.js ครั้งแรก ก็เจอสารพัดปัญหา

นี่ก็เป็นอย่างนึง ที่คิดว่า ถ้าเราเอาสารพัดเทคนิคมายำรวมๆกัน ให้เป็น solution ขึ้นมา ก็จะสร้าง dependency problem ขึ้นมาเยอะมาก ไม่สนุกที่ต้องมานั่งหา root cause และจัดการกับผลกระทบที่เกิดกับส่วนอื่นๆ

C++ อย่างเดียวจบเลยดีกว่ามั้ย อย่างที่นำเสนอในตอนที่ผ่านๆมา

ทดลองเล่น ZigBee

ผมเริ่มสนใจ ZigBee ตั้งแต่ได้รู้จักและทดลองสินค้า smart home ของ xiaomi จริงๆก็ได้ยินชื่อมานานแล้ว แต่ที่เห็นขายกันเป็นโมดูลสำหรับนักพัฒนา จะเป็น xbee ซะมาก ราคาค่อนข้างสูง และผมก็ไม่ใช่นักอิเล็กทรอนิกส์จ๋าซะด้วย เลยไม่กล้าซื้อมาเล่น ผ่านมาหลายปี ตอนนี้พี่จีนทำโมดูลออกมาได้ถูกลงมาก (ที่พูดถึงนี่คือโมดูลที่ใช้ cc2530 ของ TI นะครับ) ประกอบกับยุค internet of things ทำให้ smart things หรืออุปกรณ์ต่างๆ ถูกเชื่อมต่อเข้ามาถึงคอมพิวเตอร์และมือถือได้ง่ายดายขึ้น เพื่อมอนิเตอร์และสั่งงาน ดังนั้นช่วงนี้จีงน่าเอามาศึกษา ผมก็เลยเริ่มเล่นและเขียนถึงมันนี่แหละครับ

สิ่งที่น่าสนใจของ ZigBee สำหรับผมคือการที่มันสามารถสร้างโครงข่ายระหว่างอุปกรณ์ด้วยกันแบบ mesh ได้ และเราไม่ได้ใช้โปรโตคอลระบบเครือข่ายไร้สายเดียวกับ wifi  ซึ่งคาดหวังว่า อุปกรณ์ IoT ของเราจะถูกเข้าถึงจากผู้ไม่พึงประสงค์ได้ยากขึ้นกว่าการเอาอุปกรณ์ทั้งหมดมาต่อ wifi โดยตรง ในเรื่องของระยะทางก็สามารถออกแบบวงจรให้สามารถสื่อสารกันตั้งแต่ไม่กี่สิบเมตรจนถึงหลักเป็นกิโลเมตร ก็นับว่ามีให้เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม

เรื่องหลักการเรื่องอะไร มีคนศึกษาไว้เยอะแล้ว ลองเล่นเลยดีกว่า อิอิ ตัว cc2530 core โปรเซสเซอร์ มันก็คือ 8051 นั่นเอง เริ่มแรกก็หัดเขียนมันเพื่อควบคุม I/O port ต่างๆก่อน และมันมี serial port มาให้ด้วย ก็เริ่มอ่านค่าและสั่งงาน I/O ผ่าน serial port

ขั้นต่อมาเมื่อจะต้องทำให้มันคุยกันเองได้ระหว่างอุปกรณ์ ZigBee ด้วยกัน ทาง TI ก็ให้ framework เรามาเพื่อช่วยให้เราพัฒนา application ต่างๆได้ง่ายดายยิ่งขึ้น มันคือ ZStack นั่นเอง ดูเผินๆเหมือนเป็นระบบปฏิบัติการตัวนึงเลยทีเดียว ดูยุ่งยากมากขึ้นเยอะ แต่หากศึกษาตามตัวอย่างไปเรื่อยๆ ทดลองเล่นไป ก็จะเริ่มคุ้นเคยกับมันมากขึ้นนะครับ

ขั้นต่อไปก็คือ การที่เราต้องการติดต่อ ZigBee ผ่านทาง TCP/IP เน็ตเวอร์คได้ โดย TI ก็ได้ให้ Z-Stack Linux gateway มา ซึ่งเป็นโปรแกรม ที่เราสามารถเอามาลงใน ARM embedded board อย่าง BeagleBone ได้ (ก็มันของเจ้าเดียวกันนี่เนาะ) แต่ TI ก็ไม่ได้ใจร้ายขนาดนั้น มันมีทางที่เราสามารถนำ sourcecode มาคอมไพล์และรันบนบอร์ดอื่นได้เหมือนกัน เช่น Raspberry Pi โดยที่อาจจะต้องมีการปรับแก้อะไรนิดหน่อย

ขั้นสุดท้าย หากคิดจะมาทำเป็นโปรดักส์ก็คงเป็นเรื่องของความปลอดภัยในการรับส่งข้อมูล อันนี้ยังไม่ได้เข้าไปดูรายละเอียดเหมือนกัน

เดี๋ยวค่อยว่ากันไปเป็นตอนๆครับ